วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

การ Save Flash เป็น .avi เพื่อให้เล่นกับ Windows Media Player

วิธีการ Save Flash เป็น .avi เพื่อสามารถเล่นกับ Windows Media Player ได้

จำได้มั้ย ครับ เราเคยสร้างการ์ตูนกันเอาไว้ (หวังว่าเพื่อนๆ คงทำการ์ตูน
ยาวกว่าที่ผมทำไว้เป็นตัวอย่างนะครับ งั้นมันจะเร็วไป แป๊ป เดียวจบ) วันนี้
เรามาทำให้มันสามารถเล่นในWindows Midin Player กันได้ดีกว่าครับ
เผือใครอยากทำเป็น VDO ไม่อยากเลยนะครับ

1. เปิดไฟล์ Falsh ที่เราทำไว้และพร้อมทำเป็นไฟล์ VDO กันแล้ว

2. ไปที่ File > Export > Export Movie...

3. ตอน Save สังเกตุ คำว่า Save as type ให้เลือก Windows AVI (*.avi)

4. เมื่อกด Save แล้วจะเห็นเมนูนี้เด้งขึ้นมา Dimensions Width x Height Pixels
คิดว่าอันนี้ทุกคนคงทราบนะครับว่าหมายถึง ขนาดหน้าจอนั่นเอง ส่วนในหัวข้อ
Sound คุณปรับได้ตามใจเลยครับ หรือจะตั้งตามรูปข้างล่างนี้ก็ได้นะครับ
คือหากคุณต้องการเสียงที่คมชัด ก็เลือกในส่วนของ Sample Rate ให้มีค่าเยอะๆ
ก็ได้นะครับ แต่ก็ต้องแลกกับขนาดไฟล์ที่ใหญ่ขึ้นนะครับ Disable คือไม่มีเสียงครับ

5. 24 bit Color ล่ะคืออะไรกันนะ

ปกติคอมพิวเตอร์จะใช้ 24-bit color ซึ่งแสดงสีได้ 256 สี ต่อ ส
addictive color หนึ่งสี ดังนั้น สำหรับ สีแดง เขียว และ น้ำเงิน อย่างละ 256 สี
สามารถสร้างสีได้ทั้งสิ้น 16,777,216 สี (256 x 256 x 256) สี R=0 G=0 B=0
จะได้สีดำ และ สี R=255 G=255 B=255 จะได้สีขาว

6. อ้าว!!! แล้ว 32 bit color ทำไมมี W/ alpha อันคืออะไรกันนะ

32-bit color ที่ต่างก็แสดงสีได้ 16 ล้านสีเท่าๆกัน คือสีละ 8 bits แต่แบบ 32-bit color
จะเพิ่ม Alpha Channel อีก 8 bits

อ้าวแล้ว!!! Alpha Channel คืออะไีีรกันล่ะ

Alpha channel เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานทางด้านตัดต่อและ 3D กราฟฟิคค่อนข้างมาก
เพราะมันมีหน้าที่ Mask เลือกเฉพาะ
ส่วนที่เราต้องการให้ปรากฏบนงานของเราได้ อีกทั้งยังสามารถกำหนดความหนัก
เบาหรือมิติ ความโปร่งใสได้ด้วย ซึ่งจะแตกต่างกับการใช้ Key มากครับ

7. ยัง กด Ok แล้วยังไม่เสร็จอีก มีเจ้านี้มาให้เลือกอีก Comperssor: อันนี้แล้วแต่เครื่องกันเลยนะครับ
เลือกตามความเหมาะสมเลือกเป็น Micorsoft Video 1 ก็ได้ครับ แต่ถ้าหากคุณต้อง
การทำสื่อการสอนแบบมืออาชีพ คือ คุณต้องการที่จะให้ไฟล์นี้ เปิดได้ในทุกๆ เครื่อง
คุณควรจะเลือกเป็น Full Freames (Uncompressed) นะครับ แต่ก็จะทำให้ขนาดของ
ไพล์ที่ได้จะใหญ่ขึ้นนะครับ

Comperssion Quality อันนี้เลือก % ความคมชัดนะครับ

Key Frame Every อันนี้ มาตรฐาน อยู่ที่ 20 นะครับ คือความ ลื่นไหล ของ Movie ล่ะครับ

ปรับอะไรเสร็จแล้วก็ กด Ok เพื่อการ Save ได้เลยครับ จะมีการ โหลด
เพื่อการ Exporting AVI Movie

จากนั้นสามารถแสดงผลใน Windows Media Playe ได้เลยครับ

การทำสมุดภาพระบายสี

การทำสมุดภาพระบายสี

1. สร้างวงกลมถาดสีขึ้นมา 1 วง

2. Convert to Symbol เป็น Movie Clip ตั้งชื่อ Symbol ว่า color-but



3. ลาก Movie Clip ชื่อ color-but ที่เราได้สร้างขึ้นจาก Library มาวางเป็น 3 วง



4. คลิ๊กที่วงกลมบนสุดแล้วดูที่แถบ Properties สังเกตตรง color ให้เลือกเป็น Tint



5. เลือกสีของวงกลม ให้ครบทั้ง 3 วงด้วยวิธีเดียวกัน โดยบนสุดกำหนดเป็นสีแดง และ กลางกำหนดเป็นสีน้ำเงิน และล่างสุดกำหนดเป็นสีเหลือง

6. สร้างวัตถุสี่เหลียมขึ้นมา 1 อัน

7. Convert Symbol เป็น Movie Clip ตั้งชื่อ Symbol ว่า area



8. คลิ๊กที่วงกลมสีแดง แล้ว กด F9 เพื่อใส่ Action Script



on (release) { = กำหนดสถานะหากกดที่วงกลมสีแดงจะทำงานที่บรรทัดต่อไป
_root.fillcolor = 0xff0000; = กำหนดให้ fillcolor เป็นค่าสี ff0000 คือ สีแดง
}

9. และทำซ้ำดังขั้นตอนที่ 7 กับวงกลมที่เหลือโดยเปลี่ยน ค่าตรงค่าสี
สีน้ำเงินกำหนดเป็น 0x0000ff
สีเหลืองกำหนดเป็น 0xffff00

10. หลังจากนั้นก็ใส่ Script ให้กับ สี่เหลี่ยม



on (release) { = กำหนดสถานะหากกดที่วงกลมสีแดงจะทำงานที่บรรทัดต่อไป
iColor = new Color(this); = ให้ตัวแปร iColor เตรียมที่จะรับค่าสีใหม่
iColor.setRGB(_root.fillcolor); = นำค่าสีที่เราคลิ๊กจากวงกลมมาแสดงบนรูปสี่เหลี่ยม
}

เพียงเท่านี้ก็เสร็จขั้นตอนการทำสมุดภาพระบายสีแล้ว วิธีการนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับรูปอื่น ๆ ได้อีกมากมายเพียงแค่เปลี่ยนรูปจากสี่เหลี่ยมเป็นรูปการ์ตูนต่าง ๆ แต่หากจะใช้เป็นรูปการ์ตูนต้องกำหนดวัตถุแต่ละชิ้นแยกจากกันมิฉะนั้นตัวการ์ตูนจะมีสีเดียวทั้งหมด




การทำ animation ต่างๆ

การทำ animation ต่างๆ

ในการทำ animation ต่างๆ เช่น การ์ตูน แน่นอนว่าจะต้องแบ่งเป็นตอนๆ หรือ
ฉาก ใน flash ก็เช่นกัน เมื่อ animation ของเรามีความยาว หรือซับซ้อนมาก
ก็แบ่งออกเป็นฉากๆได้ โดยใ้ช้ Scene เพราะว่าใน flash player นั้นจะทำการเล่น
เมื่อมีเฟรมไม่เกิน 16,000 เฟรม ถ้ามากกว่านี้ก็จะไม่เล่น และถ้า animation
ของเรามีความยาวมากกว่า 16,000 เฟรมล่ะ จะทำยังไง Scene
เป็นตัวเลือกหนึ่งในนั้น บทความนี้จะทดสอบเกี่ยวกับการใช้ Scene ครับ

1. สร้างเอกสารใหม่ขึ้นมา ขนาดใดก็ได้ (ในรูปขนาด 400x300)

2. ใช้เครื่องมือ text tool พิมลงไปใน stage ว่า Scene 1 ดังรูป

3. สร้าง layer ใหม่ขึ้นมาอีก 1 เลเยอร์ โดยคลิกที่
แล้วใช้เครื่องมือ Oval Tool วาดรูปวงกลมลงไปทางด้านซ้ายของ stage ดังรูป

4. คลิกขวาที่ keyframe ที่เฟรมแรก ของ layer 2 แล้วเลือก creation motion tween ดังรูป

5. คลิกขวาที่เฟรมที่ 20 แล้วเลือก Insert Keyframe ดังรูป

6. ลากวงกลมไปไว้ทางขวาดังรูป

7. คลิกขวาที่เฟรมที่ 20 ของ layer 1 แล้วเลือก Insert Frame ดังรูป

8. ตอนนี้เราก็จะได้ animation อย่างง่าย อยู่ที่ Scene แรกแล้วนะครับ สังเกตุได้จากตัวอย่างในรูปครับ

9. ไปที่เมนู Insert > Scene เพื่อสร้าง Scene ใหม่ขึ้นมา จะพบกับ
stage ที่ว่างเปล่า นั่นก็คือ Scene 2 นั่นเอง

10. ใน Scene 2 นั้นให้สร้าง animation ขึ้นมาใหม่ ตั้งแต่ข้อ 2 - 7
โดยเปลี่ยนจาก คำว่า Scene 1 เป็น Scene 2 และเปลี่ยนสีของวงกลมจากสีฟ้าเป็นสีอื่นครับ ดังรูป

11. กด Ctrl + Enter เพื่อทดสอบดูครับ

12. จะเห็นว่า เมื่อ animation ของ Scene 1 จบ จะต่อด้วย Scene 2 ทันที

13. เราสามารถสลับเปลี่ยน Scene ที่ต้องการแก้ไขได้โดยดูจากตัวอย่างครับ

14. เราสามารถเรียกหน้าต่าง Scene มาใช้งาน
เพื่อความสะดวกในการสับเปลี่ยน Scene โดยไปที่ Window > Other Panels > Scene
หรือกด Shift+F2


สร้างลูกเต๋าแบบสุ่ม

สร้างลูกเต๋าแบบสุ่ม

1. สร้าง file ใหม่ขึ้นมาขนาดประมาณ 200*200 pixels ค่ะ

2. สร้างลูกเต๋า โดยสร้างรูปสี่เหลี่ยมขึ้นมาก่อนนะคะ แล้วเปลี่ยนให้เป็น
movie clip จากนั้นให้สร้าง frame ทั้งหมด 6 frames ตั้งแต่เฟรมแรกถึงเฟรมที่หกคือ
จำนวนเลขของลูกเต๋า เช่น เฟรมที่หนึ่งจะมีรูปวงกลมหนึ่งรูป เฟรมที่สองจะมีรูปวงกลมสองรูป ค่ะ

3. จากนั้นให้พิมพ์ข้อความที่แสดงถึงการทอยลูกเต๋าค่ะ ในที่นี้เราจะใช้คำว่า
ROLL ค่ะ จากนั้นให้ คลิกขวา ---> convert to symbol --->button

4. ต่อไปเราจะใส่ script ให้กับปุ่มที่เราได้สร้างขึ้นมาในข้อ 3 ค่ะ ให้ใส่
script ตามด้านล่างเลยค่ะ

on(release){
// เป็นการสุ่มตัวเลขระหว่าง 1-6 ค่ะ
num = Math.floor(Math.random()*6)+1;
dice.gotoAndStop(num);
}

5. สำหรับ script ด้านล่างให้นำไปใส่ในเฟรมที่หนึ่งค่ะ

// เป็นการหยุดลูกเต๋าเมื่อเราได้กดปุ่มเพื่อสุ่มค่าค่ะ
dice.stop();

สร้างลูกศรควบคุมเกม flash

สร้างลูกศรควบคุมเกม flash

1. สร้างสัญลักษณ์ลูกศรเพื่อแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้ลูกศรที่แป้นพิมพ์ได้
หรือเราจะเอามาจากที่อื่นก็ได้ค่ะ ถ้าเราจะเอารูปมาจากที่อื่นให้ทำการ import
รูปโดยกด Ctrl+R ค่ะ ก็จะได้รูปตามด้านล่าง

2. คลิกขวาที่ object นั้นค่ะ แล้วทำการเปลี่ยน object เป็น movie clip
ในที่นี้เราจะกำหนดชื่อเป็น move_obj ค่ะ โดยเราต้องไปกำหนดในส่วนของ
propertis ตามด้านล่างเลยค่ะ

3. เลือก movie clip ที่เราเพิ่มสร้างขึ้นนะคะ แล้วกด F9 ที่แป้นพิมพ์ค่ะ
จากนั้นให้นำ code ด้านล่างไปใส่ได้เลยค่ะ